บทที่ 11 การวิเคราะห์อัตรากำลังคนระยะสั้น


            หลังจากที่ได้ทำการสร้างโปรแกรม และทดลองการทำงานของโปรแกรมแล้ว ในส่วนนี้จะได้อธิบายถึงผลของการคำนวนโปรแกรม และการวิเคราะห์ผลที่ได้ เพื่อสร้างความเข้าใจและมุมมองในการวิเคราะห์กำลังคน เพราะการตัดสินใจในการเลือกอัตราเลือกกำลังคนนั้นโปรแกรมคงไม่สามารถให้คำตอบที่ดีที่สุดได้ โปรแกรมที่สร้างขึ้นเป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยสร้างกรอบในการตัดสินใจ เท่านั้น ดังนั้น การทำความเข้าใจผลการคำนวนเพื่อนำไปสู่กระบวนการตัดสินใจจึงเป็นเรื่องที่ผู้บริหารต้องไตร่ตรอง พินิจพิเคราะห์ด้วยตัวของท่านเอง
ในการวิเคราะห์ผลการคำนวนสามารถทำได้ 2 วิธี ด้วยกัน คือ
1. การวิเคราะห์ตารางผลการคำนวน
2. การวิเคราะห์กราฟ

อธิบายความหมายข้อมูลในตาราง


คำอธิบาย
1.คอลัมน์ที่ 1 จำนวนพนักที่ใช้คำนวนในแต่ละรอบ
2.คอลัมน์ที่ 2 แสดงจำนวนชั่วโมงทำงานของวันทำงานปกติ โดยแบ่งเป็น พนักงานประจำ,จำนวนวันทำงาน,และชั่วโมงทำงาน-จำนวนพนักงานชั่วคราว.จำนวนวันทำงาน.จำนวนชั่วโมงทำงาน
ตัวอย่าง 10,26,2080-4,26,832
หมายถึง พนักงานประจำ 10 คน ทำงานในวันทำงานปกติ 26 วัน วันละ 8 ชั่วโมง คิดเป็น 2080 ชั่วโมง และพนักงานชั่วคราวทำงานในวันทำงานปกติ 26 วัน วันละ 8 ชั่วโมง คิดเป็น 832 ชั่วโมง
3.คอลัมน์ที่ 3 แสดงจำนวนชั่วโมงทำงานล่วงเวลาของวันทำงานปกติ
ตัวอย่าง 10,4,80-4,4,32
หมายถึง พนักงานประจำ 10 คน ทำงานล่วงเวลาในวันทำงานปกติ 4 วัน วันละ 2 ชั่วโมง คิดเป็น 80 ชั่วโมง และพนักงานชั่วคราวทำงานล่วงเวลา ในวันทำงานปกติ 4 วัน วันละ 2 ชั่วโมง คิดเป็น 32 ชั่วโมง
4.คอลัมน์ที่ 4 แสดงจำนวนชั่วโมงทำงานของการทำงานในวันหยุด
ตัวอย่าง 10,2,160-1,2,16
หมายถึง พนักงานประจำ 10 คน ทำงานล่วงเวลในวันหยุด 2 วัน วันละ 8 ชั่วโมง คิดเป็น 160 ชั่วโมง และพนักงานชั่วคราว 1 คน ทำงานล่วงเวลา ในวันหยุด 2 วัน วันละ 8 ชั่วโมง คิดเป็น 16 ชั่วโมง
5.คอลัมน์ที่ 5 แสดงจำนวนชั่วโมงทำงานล่วงเวลาของการทำงานในวันหยุด
ตัวอย่าง 10,4,80
หมายถึง พนักงานประจำ 10 คน ทำงานล่วงเวลาในวันหยุดหลัง 5 โมงเย็น 4 วัน วันละ 2 ชั่วโมง คิดเป็น 80 ชั่วโมง แต่ไม่มีพนักงานชั่วคราวทำงานในช่วงเวลาดังกล่าว
6.คอลัมน์ที่ 6 แสดงจำนวนปริมาณจำนวนชั่วโมงมาตรฐานที่ต้องผลิตในรอบเดือน
7.คอลัมน์ที่ 7 จำนวนชั่วโมงทำงานทั้งหมดของพนักงานที่คำนวนได้ในรอบเดือน
8.คอลัมน์ที่ 8 จำนวนชั่วโมงเปรียบเทียบการทำงานทั้งหมดของพนักงานที่สามารถทำได้ในรอบเดือนโดยเทียบเป็นจำนวนชั่วโมงทำงานปกติของพนักงานประจำ



อธิบายการคำนวน Man hours และ Pay hours











เมื่อจำนวนพนักงานเท่ากับ 11 คน (พนักงานประจำ 10 คน และพนักงานชั่วคราว 1 คน)
Manhours วันทำงานปกติของพนักงานประจำ เท่ากับ 10x26x8=2080
Manhours วันทำงานปกติของพนักงานชั่วคราว เท่ากับ 1x26x8=208
Manhours ล่วงเวลาวันทำงานปกติของพนักงานประจำ เท่ากับ 10x26x2=520
Manhours ล่วงเวลาวันทำงานปกติของพนักงานชั่วคราว เท่ากับ 1x26x2=52
Manhours วันทำงานในวันหยุดของพนักงานประจำ เท่ากับ 10x2x8=160
Manhours วันทำงานในวันหยุดของพนักงานชั่วคราว เท่ากับ 1x2x8=16
Manhours รวมทั้งหมด เท่ากับ 3036 ชั่วโมง
Payhours วันทำงานปกติของพนักงานประจำ เท่ากับ 10x26x8x1=2080
Payhours วันทำงานปกติของพนักงานชั่วคราว เท่ากับ 1x26x8x1.5=312
Payhours ล่วงเวลาวันทำงานปกติของพนักงานประจำ เท่ากับ 10x26x2x1.5=780
Payhours ล่วงเวลาวันทำงานปกติของพนักงานชั่วคราว เท่ากับ 1x26x2x2=104
Payhours วันทำงานในวันหยุดของพนักงานประจำ เท่ากับ 10x2x8x1.5=240
Payhours วันทำงานในวันหยุดของพนักงานชั่วคราว เท่ากับ 1x2x8x3=48
Payhours รวมทั้งหมด เท่ากับ 3564 ชั่วโมง


การวิเคราะห์กราฟ
หลังจากการคำนวนของโปรแกรม ทำให้ได้ชุดข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ โดยการนำมาสร้างกราฟหาความสัมพันธ์ระหว่างกำลังคนกับจำนวนชั่วโมงทำงานและจำนวนชั่วโมงทำงานที่เทียบเป็นอัตราส่วนจ่าย ซึ่งอธิบายดังนี้

องค์ประกอบของกราฟ
ข้อมูลที่นำมาสร้างกราฟ มี 3 ชุดข้อมูลคือ
1.ข้อมูล Standard time คือ ข้อมูลแสดงจำนวนชั่วโมงมาตรฐานที่ต้องทำการผลิตให้เสร็จในช่วงเวลาที่กำหนด

รูปที่ 11.1

2.ข้อมูล Man hours คือ ข้อมูลแสดงจำนวนชั่วโมงทำงานจากการคำนวน จำนวนคนXวันXจำนวนชั่วโมงทำงาน

รูปที่ 11.2

3.ข้อมูล Pay hours คือ ข้อมูลแสดงจำนวนชั่วโมงเทียบเป็นอัตราส่วนจ่ายในช่วงเวลาทำงานปกติของพนักงานประจำ เช่น ทำงานล่วงเวลา 1 ชั่วโมง อัตราจ่าย 1.5 เท่า ดังนั้น ถ้านำค่าใช้จ่ายส่วนนี้มาแปลงเป็นจำนวนชั่วโมงทำงานปกติก็ต้องได้ 1.5 ชั่วโมง เช่นกัน การแปลงข้อมูลล่วงเวลาเป็น Payhours เพื่อให้เป็นหน่วยเดียวกันกับชั่วโมงทำงานปกติ และสามารถใช้เปรียบเทียบอัตราส่วนแรงงานในชั่วโมงทำงานปกติ

รูปที่ 11.3



เมื่อรวมกราฟทั้งสามเข้าด้วยกันจะได้ดังนี้

รูปที่ 11.4

ช่วงพิจารณากราฟ แบ่งออกได้เป็น 3 ช่วง
1.เฟสที่ 1 ช่วงที่เกินกำลังการผลิต Demand > capacity
2.เฟสที่ 2 ช่วงพิจารณา Capacity>= Demand
3.เฟสที่ 3 ช่วงกำลังการผลิตเกินความต้องการ capacity >>Demand

รูปที่ 11.5


1.เฟสที่ 1 ช่วงที่เกินกำลังการผลิต Demand > capacity
ช่วงนี้ เป็นช่วงของจำนวนกำลังคนที่มีน้อยกว่าความต้องการในการผลิต แม้ว่าจะทำการเพิ่มกำลังการผลิต โดยการเปิดทำงานล่วงเวลาในวันทำงานปกติ วันหยุด และล่วงเวลาในวันหยุดแล้วก็ตาม กำลังการผลิตที่ได้ก็ยังไม่สามารถรองรับปริมาณการผลิตได้ อีกทั้งยังมีอัตราส่วนจ่ายเทียบเป็นจำนวนชั่วโมงทำงานปกติ สูงมาก จากรูปที่ 11.5 ถ้ามีจำนวนพนักงาน 18 คน จะเป็นช่วงที่มีกำลังการผลิตมากพอที่จะรองรับปริมาณการผลิตได้ แต่ต้องทำงานล่วงเวลาทั้งในวันทำงานปกติ วันหยุด และล่วงเวลาในวันหยุดซึ่งถือว่า พนักงานจะต้องรับภาระงานมากจนอาจเกิดผลกระทบต่อสุขภาพ และกระทบต่อการทำงานในเดือนถัดไป เนื่องจากความเมื่อยล้า นอกจากนี้ ก็ยังถือได้ว่าปริมาณกำลังคนจำนวนเท่านี้ อาจเสี่ยงต่อการผลิตที่ไม่สามารถดำเนินการผลิตได้ทันช่วงเวลาที่กำหนดหรือส่งมอบสินค้า เพราะในขณะที่ทำการผลิตอาจมีปัจจัยแทรกเข้ามาในระหว่างการผลิต ทำให้กระบวนการผลิตต้องล้าช้าออกไป ปัจจัยที่แทรกเข้ามาเช่น อัตราการขาดลาของพนักงานอาจมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ทำให้ขาดกำลังการผลิตไปบางส่วน วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอาจหมดกระทันหันเนื่องจากคำนวนปริมาณการใช้ผิดพลาด วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอาจถูกส่งมอบมาให้ล่าช้า หรือแม้แต่ลูกค้าเองอาจปรับเปลี่ยนปริมาณความต้องการจำนวนสั่งซื้อเพิ่มจากเดิมอย่างกระทันหัน ทำให้บริษัท ไม่มีกำลังการผลิตที่สำรองไว้ ซึ่งส่งผลถึงความเชื่อมั่นของลูกค้าที่มีต่อความสามารถในการผลิตของเรา

2.เฟสที่ 2 ช่วงพิจารณา Capacity>= Demand
ช่วงนี้ถือว่าเป็นช่วงที่ถือว่าสำคัญที่สุด เพราะเป็นช่วงที่ใช้ในการพิจารณาในการตัดสินใจว่าจำนวนกำลังคนที่เหมาะสมควรเป็นจำนวนเท่าใด
โดยขอบล่างของเฟสนี้จะมีจำนวนชั่วโมงที่เทียบเป็นอัตราส่วนจ่ายในวันทำงานปกติของพนักงานประจำมีค่าสูงสุด เนื่องจากจำนวนกำลังคนที่จุดนี้ ต้องทำงานในวันปกติ ทำงานล่วงเวลาในวันปกติ ทำงานในวันหยุด และต้องทำงานล่วงเวลาในวันหยุด จึงจะเพียงพอกับปริมาณการผลิตที่ต้องการ ลักษณะของเส้นกราฟ Payhours ในเฟสที่ 2 จะมีความชันลดลง เรื่อยๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเมื่อกำลังคนเพิ่มขึ้น การทำงานล่วงเวลาจะค่อยๆลดลง จนถึงตำแหน่งที่ Payhours ต่ำสุด เป็นตำแหน่งที่มีการใช้อัตรากำลังคนในวันทำงานปกติเท่านั้นก็สามารถได้จำนวนชั่วโมง Man hours มากกว่า หรือเท่ากับ จำนวนชั่วโมงทำงานมาตรฐานที่ต้องการ นั้นคือ ขอบบนสุดของเฟสที่ 2 เมื่อพ้นตำแหน่งนี้ไป จะเข้าสู่เฟสที่ 3 ซึ่งเส้นกราฟของ Pay hours จะมีทิศทางปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากมีกำลังคนเกินปริมาณการผลิต

3.เฟสที่ 3 ช่วงกำลังการผลิตเกินความต้องการ Capacity >>Demand
เป็นช่วงที่มีจำนวนแรงงานเกินความต้องการ จากกราฟจะเห็นว่า Standard time ที่ต้องการคือ 5,000 ชั่วโมง จำนวนพนักงานเท่ากับ 26 คน ถ้ามากกว่านี้ จะกลายเป็นแรงงานส่วนที่เกินปริมาณการผลิต จากเส้น Pay hours จะเห็นว่า มีการปรับค่าสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แสดงว่า เมื่อมีจำนวนแรงงานเพิ่มมากขึ้นเกินความต้องการในการผลิต จะทำให้เกิดอัตราส่วนจ่ายเทียบกับจำนวนชั่วโมงมาตรฐานเพิ่มมากขึ้น


การเคลื่อนตัวของกราฟเมื่อปัจจัยเปลี่ยน
1. เปรียบเทียบปัจจัยจำนวนพนักงานประจำที่ต่างกัน
ตัวอย่างที่ 1 โดยกำหนดให้ปริมาณการผลิตคิดเป็นชั่วโมงทำงานมาตรฐาน (Standard time) เท่ากับ 7000 ชั่วโมง โดยการคำนวนแบบอนุกรม (Series)
จำนวนวันทำงานปกติเท่ากับ 24 วัน
จำนวนวันหยุดเท่ากับ 4 วัน
อัตราการมาทำงานเท่ากับ 1.0
กรณีที่ 1 จำนวนพนักงานประจำเท่ากับ 10 คน
กรณีที่ 2 จำนวนพนักงานประจำเท่ากับ 40 คน
วิธีทำ
1.เรียกโปรแกรมขึ้นมา
2.ใส่ค่าลงไปในโปรแกรม แล้วคำนวนแต่ละกรณี
3.นำผลการคำนวน Manhours และ Payhours ที่ได้แต่ละกรณีมาสร้างกราฟ

รูปที่ 11.6




รูปที่ 11.7

กราฟของ Man hours จะมีลักษณะซ้อนทับกันเนื่องจากไม่มีผลกระทบจากปัจจัย เพราะอย่างไรก็ต้องทำให้ได้ตามปริมาณการผลิต
กราฟของ Pay hours จะมีการปรับตัวลดลง เมื่อจำนวนพนักงานประจำเพิ่มขึ้นจาก 10 เป็น 40 คน ตามลำดับ
แสดงให้เห็นว่า จำนวนพนักงานประจำที่ต่างกัน มีผลต่ออัตราส่วนจ่ายเทียบเป็นชั่วโมง ต่างกัน ซึ่งมีสาเหตุมาจาก เมื่อปริมาณการผลิตมีจำนวนเท่ากัน และปัจจัยอื่นมีค่าเท่ากันดังนั้น กรณีที่มีจำนวนพนักงานประจำน้อยกว่าจำเป็นต้องจ้างพนักงานชั่วคราว เข้ามาทดแทนกำลังการผลิตที่มีไม่พอ ซึ่งอัตราการจ่ายค่าแรงเทียบเป็นจำนวนชั่วโมงทำงานปกติของพนักงานประจำมีค่าสูงกว่า จึงทำให้อัตราส่วนจ่ายเทียบเป็นจำนวนชั่วโมงทำงานปกติมีค่าสูงกว่า


2. เมื่อปัจจัยอัตราการมาทำงานของพนักงาน (Attendant rate)เปลี่ยนแปลง
อัตราการมาทำงานของพนักงานถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่ส่งผลต่อการคำนวนช่วงของอัตรากำลังคน เนื่องจากการขาดงานของพนักงาน ส่งผลให้กำลังการผลิตหายไป ทำให้ต้องหาส่วนของเวลามาชดเชยส่วนที่ขาดหายไป
ตัวอย่างที่ 2 กำหนดให้ปริมาณการผลิตคิดเป็นชั่วโมงทำงานมาตรฐาน (Standard time) เท่ากับ 5000 ชั่วโมง โดยการคำนวนแบบอนุกรม (Series)
จำนวนวันทำงานปกติเท่ากับ 24 วัน
จำนวนวันหยุดเท่ากับ 4 วัน
จำนวนพนักงานประจำเท่ากับ 30 คน
กรณีที่ 1 อัตราการมาทำงานเท่ากับ 1.0
กรณีที่ 2 อัตราการมาทำงานเท่ากับ 0.9
วิธีทำ
1.เรียกโปรแกรมขึ้นมา
2.ใส่ค่าลงไปในโปรแกรม แล้วคำนวนแต่ละกรณี
3.นำผลการคำนวน Man hours และ Pay hours ที่ได้แต่ละกรณีมาสร้างกราฟ

รูปที่ 11.8


รูปที่ 11.9

เมื่อนำข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลของโปรแกรมมาสร้างกราฟ โดย
Man hours1 หมายถึง จำนวนชั่วโมงทำงานของพนักงานทั้งหมด เมื่อ Attendant rate = 1.0
Man hours2 หมายถึง จำนวนชั่วโมงทำงานของพนักงานทั้งหมด เมื่อ Attendant rate = 0.9
Pay hours1 หมายถึง จำนวนชั่วโมงเทียบเป็นอัตราส่วนจ่าย เมื่อ Attendant = 1.0
Pay hours2 หมายถึง จำนวนชั่วโมงเทียบเป็นอัตราส่วนจ่าย เมื่อ Attendant = 0.9
จากกราฟ จะเห็นว่า ช่วงของการพิจารณาจำนวนกำลังคนจะมีการเคลื่อนตัวไปทางขวา ซึ่งหมายถึง เมื่อมีอัตราการมาทำงานลดลง หรือมีขาดลามากขึ้น ส่งผลให้ต้องมีกำลังคนมาชดเชย ส่วนที่ขาดหายไป เมื่อกราฟเลื่อนไปทางขวา ยังมีนัยอีกว่า หากจำนวนกำลังคนที่มีอยู่ปัจจุบัน มีอัตราการขาดงานมากขึ้น ก็จะทำให้ อัตรากำลังคนที่มีอยู่กำลังเลื่อนเข้าสู่ เฟส 1 ซึ่งมีโอกาสทำการผลิตไม่ทันตามกำหนด หากผู้บริหารตัดสินใจเลือกจำนวนกำลังคนใกล้ขอบล่างของเฟสที่ 2
นอกจากนี้หากพิจารณาในส่วนของ Pay hour จะมีการยกตัวสูงขึ้น แสดงให้เห็นว่า เมื่ออัตราการมาทำงาน (Attendant rate) ลดลงหรือมีการขาดลามากขึ้น ยังทำให้อัตราส่วนจ่ายเทียบเป็นชั่วโมงทำงานปกติของพนักงานประจำมีค่าสูงขึ้น เพราะจะต้องจ่ายค่าแรงในส่วนการทำงานล่วงเวลาเพิ่มขึ้น เพื่อชดเชยกับชั่วโมงทำงานที่ขาดหายไป

3. เมื่ออัตราส่วนจ่ายค่าแรงพนักงานชั่วคราวสูงขึ้น
ตัวอย่างที่ 3 โดยกำหนดให้ปริมาณการผลิตคิดเป็นชั่วโมงทำงานมาตรฐาน (Standard time) เท่ากับ 5000 ชั่วโมง โดยการคำนวนแบบอนุกรม (Series)
จำนวนวันทำงานปกติเท่ากับ 24 วัน
จำนวนวันหยุดเท่ากับ 4 วัน
จำนวนพนักงานประจำเท่ากับ 20 คน

วิธีทำ
1.เรียกโปรแกรมขึ้นมา ใส่ค่าลงไปในโปรแกรม แล้วคำนวนแต่ละกรณี
2.นำผลการคำนวน Manhours และ Payhours ที่ได้แต่ละกรณีมาสร้างกราฟ



รูปที่ 11.10





รูปที่ 11.11

เมื่อนข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลของโปรแกรมมาสร้างกราฟ จะเห็นว่า เส้นกราฟ Pay hours2 มีการยกตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเส้นกราฟ Pay hours1 โดยมีจุดเริ่มต้นของการยกตัวของกราฟเมื่อจำนวนพนักงานมากกว่าจำนวนพนักงานประจำ
นอกจากนี้มีจุดที่น่าสนใจอีกจุดหนึ่ง ก็คือ ขอบบนสุดของเฟสที่ 2 ซึ่งมีการยกตัวสูงกว่าจุดตัดที่อัตราจ่ายค่าแรงมากกว่า 1.0 นั้นหมายความว่า ในกรณีที่อัตราจ่ายค่าแรงพนักงานชั่วคราวในวันทำงานปกติมีอัตราสูงกว่า 1 ทำให้โอกาสที่ Pay hours จะเท่ากับ 1.0 หรือมีจุดตัดที่เท่ากับจำนวนชั่วโมงทำงานมาตรฐาน จึงเป็นไปได้ยาก



ข้อควรพิจารณาในการตัดสินใจวางแผนกำลังคน
การตัดสินใจพิจารณากำลังคนว่าสมควรเป็นเท่าใดนั้น ผู้บริหารควรรวบรวมเอาข้อพิจารณาต่างๆ เข้ามาพิจารณา เพื่อให้การตัดสินใจนั้นครอบคลุมประเด็นต่างๆ ในทุกด้าน
หัวข้อต่างๆ ด้านล่างนี้เป็นเพียงตัวอย่าง ในประเด็นที่ผู้บริหารควรนำเข้ามาพิจารณารวมกัน ซึ่งในแต่ละองค์กรนั้นก็อาจจะมีข้อพิจารณาแตกต่างกันไป ตามความเหมาะสม
1.กำลังคนต้องสามารถรองรับปริมาณการผลิตประจำเดือนได้ ซึ่งปริมาณการผลิต คือผลรวมของเวลามาตราฐานการทำงาน
2.อัตรากำลังคนที่ใช้ไม่ควรน้อยจนเกินไปหรืออยู่ชิดขอบล่างของเฟสที่ 2 มากจนเกินไปเพราะตำแหน่งนี้พนักงานจะรับภาระงาน (load) มากจนเกินไป ก่อให้เกิดการเจ็บป่วย การขาดลา เมื่อยล้า ส่งผลต่อคุณภาพในการผลิต อีกทั้งส่งผลต่อแผนการผลิตในระยะยาว นอกจากนี้ อัตราส่วนจ่ายเทียบเวลา (Pay hours) ก็จะอยู่ในอัตราที่สูงมาก
หรืออัตรากำลังคนต้องไม่มากจนเกินปริมาณการผลิต หรืออยู่ใกล้ขอบบนของเฟสที่ 2 หรืออยู่ในเฟสที่ 3 เพราะจะส่งผลให้เกิดต้นทุนที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่า
3.อัตรากำลังคนต้องอยู่ในระดับที่มีการชดเชยอัตราการมาทำงาน (Attendant rate) และอัตราการลาออก (Turnover rate)
4.การสร้างแรงจูงใจ ในการกำหนดอัตรากำลังคนที่มีจำนวนพอดีกับปริมาณการผลิต แบบไม่ต้องมีการทำงานล่วงเวลา ส่งผลให้อัตราการลาออกของพนักงานในระดับปฏิบัติการมีสูง เพราะพนักงานที่มีระดับฐานเงินเดือนไม่มากนัก ย่อมคาดหวังการสร้างรายได้ส่วนเพิ่มจากการทำงานล่วงเวลา และในบางกรณีที่องค์กรต้องอาศัยความชำนาญ หรือประสบการณ์พิเศษจากพนักงาน ก็อาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียความชำนาญ (Skill lost)
5.อัตรากำลังคนต้องมีในอัตราที่สามารถรองรับการผลิตในระยะยาว เช่น อีก 3 เดือน หรือ 6 เดือนข้างหน้าได้เป็นอย่างน้อย



จากข้อพิจารณาข้างต้น สามารถกำหนดเป็นรูปแบบ(Form) การพิจารณาโดยให้คะแนนในการพิจารณากำลังคนแต่ละข้อพิจารณา
ตัวอย่างเช่น เมื่อได้ผลการคำนวนจากโปรแกรมแล้ว ได้ช่วงพิจารณาเฟสที่ 2 ซึ่งมีอัตรากำลังคนอยู่ในช่วง 25-37 คน แล้ว ก็นำมาให้คะแนนตามข้อพิจารณาต่างๆ ที่กำหนดขึ้น เพื่อให้ช่วงการพิจารณาอัตรากำลังคนครอบคลุมในทุกประเด็น



จากตารางด้านบน ทำให้ได้ช่วงพิจารณาอัตรากำลังคนที่เหมาะสมยิ่งขึ้น ซึ่งมีช่วงอยู่ระหว่าง 29-33 คน


การวิแคราะห์อัตรากำลังคนระยะสั้น (short plan)
การวิแคราะห์อัตรากำลังคนระยะสั้น (short plan) ในเบื้องต้น ให้มีความหมายเดียวกับการวางแผนกำลังคนแบบรายเดือน คือ สามารถวิเคราะห์ผลโดยตรงจากการคำนวนและกราฟ แต่การวิเคราะห์ในระยะสั้น อาจไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุด หากปราศจากการวางแผนกำลังคนในระยะยาวมาประกอบการพิจารณา

ตัวอย่างที่ 4 ให้คำนวนหาช่วงของจำนวนพนักงานเมื่อกำหนดให้
ปริมาณการผลิตคิดเป็นเวลามาตรฐานเท่ากับ 5000 ชั่วโมง
จำนวนวันทำงานปกติเท่ากับ 26 วัน
วันหยุดเท่ากับ 4 วัน
จำนวนพนักงานประจำเท่ากับ 25คน
อัตราการมาทำงานของพนักงานคิดเป็น 0.95
วิธีทำ เรียกโปรแกรมขึ้นมาเพื่อใส่ข้อมูลตามที่กำหนด แล้วกดปุ่ม Parallel เพื่อให้โปรแกรมคำนวน

รูปที่ 11.12


ผลการคำนวน




รูปที่ 11.13

วิเคราะห์ผล
จากการคำนวนด้วยโปรแกรมทำให้ได้ค่าในตาราง และนำมาสร้างกราฟ เมื่อได้ช่วงพิจารณามาแล้ว ให้ใช้หลักการตัดสินใจตามที่กล่าวมา


จากผลรวมคะแนนทำให้พิจารณาได้ว่า ช่วงจำนวนพนักงานที่สามารถรองรับปริมาณการผลิตมีช่วง 22-25 คน ซึ่งจำนวนพนักงานประจำมีจำนวน 25 คน อยู่ในช่วงพิจารณา ซึ่งหมายความว่า กำลังคนที่มีอยู่ เพียงพอต่อปริมาณการผลิต โดยต้องทำล่วงเวลาในวันทำงานปกติทั้ง 2 วัน และตำแหน่ง Payhours อยู่ที่ 5,343 ชั่วโมง

ตัวอย่างที่ 5 ให้คำนวนหาช่วงของจำนวนพนักงานเมื่อกำหนดให้
ปริมาณการผลิตคิดเป็นเวลามาตรฐานเท่ากับ 10,000 ชั่วโมง
จำนวนวันทำงานปกติเท่ากับ 26 วัน
วันหยุดเท่ากับ 4 วัน
จำนวนพนักงานประจำเท่ากับ 25 คน
อัตราการมาทำงานของพนักงานคิดเป็น 0.95
วิธีทำ เรียกโปรแกรมขึ้นมาเพื่อใส่ข้อมูลตามที่กำหนด แล้วกดปุ่ม Series เพื่อให้โปรแกรมคำนวน

รูปที่ 11.14


รูปที่ 11.15



รูปที่ 11.16

วิเคราะห์ผล
ตัวอย่างนี้ มีปัจจัยที่ต่างจากตัวอย่างที่ 4 คือ มีปริมาณการผลิตเพิ่มมากขึ้น ทำให้ช่วงในการพิจารณาเปลี่ยนแปลงเป็น 36-51 คน จะเห็นว่า จำนวนพนักงานประจำ 25 คน จะเคลื่อนตัวเข้าสู่เฟสที่ 1 คือต้องมีการทำงานล่วงเวลาเต็มกำลัง และมีโอกาสที่จะผลิตไม่ทันตามกำหนดเวลา
ขอบบนสุดของเฟสที่ 2 หรือจุดที่ 51 คน มี Man hours 10,078 และ Pay hours 10,608 ชั่วโมง


เมื่อได้ทำการคำนวนและเลือกช่วงของกำลังคนในเบื้องต้นแล้ว ก็จะเข้าสู่การพิจารณาต่างเพื่อทำการตัดสินใจเลือกช่วงจำนวนกำลังคนที่เหมาะสมยิ่งขึ้น


เมื่อนำข้อพิจารณาต่างๆ มาประกอบการตัดสินใจ จะได้ช่วงพิจารณาอยู่ที่ 41-48 คน การเลือกช่วงจำนวนกี่คนแน่นอนนั้น ผู้บริหารหรือผู้ทำหน้าที่วางแผนอาจมีข้อพิจารณาเพิ่มเติม นอกเหนือจากที่กล่าวมาก็ได้